ก๗/๖๓ การพัฒนาถาวรวัตถุ

ปุ่น เชยโฉม

 

    เนื่องในวโรกาสอันเป็นมงคลสมัยที่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถทรงเจริญพระชนมายุครบ ๖๐ พรรษา เมื่อวันที่ ๑๒ สิงหาคม ๒๕๓๕

    ด้วยความสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณวัดอัมพวันได้ร่วมถวายความจงรักภักดี ร่วมเฉลิมฉลองวาระมหามงคลนี้ ด้วยการพัฒนางานทั้งทางด้านวัตถุและจิตใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การพัฒนาทางด้านถาวรวัตถุ

ปี ๒๕๓๒
ได้จัดให้สถานที่หน้าวัดเป็นสวนป่า เป็นเขตสังฆาวาสเพื่อจะได้รับรองพระอาคันตุกะที่จะมาปฏิบัติธรรมเป็นรายบุคคล หรือหมู่คณะได้จำนวนมากยิ่งขึ้น มีผู้บริจาคทรัพย์โดยไม่มีการเรี่ยไรแต่ประการใด ดังนี้

๑. กุฏิวิสุทธิ (ไม้)
เป็นกุฏิทรงไทย เรือนไม้ชั้นเดียว กว้าง ๓ เมตร ยาว ๕ เมตร จำนวน ๔๖ หลัง ใช้เป็นที่บำเพ็ญภาวนาของพระภิกษุผู้ปรารภความเพียรในการที่วิเวก ราคาประมาณหลังละ ๒๐,๐๐๐ บาท

๒. กุฏิวิสุทธิ
เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กชั้นเดียว ทรงไทย กว้าง ๓ เมตร ยาว ๕ เมตร เป็นที่ปฏิบัติธรรมของพระภิกษุ ราคาประมาณ ๘๐,๐๐๐ บาท

๓. อาคารวิสุทธิ
เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก ๒ ชั้น ทรงไทย ใช้เป็นที่รับรองพระอาคันตุกะผู้มาปฏิบัติธรรม กว้าง ๖ เมตร ยาว ๘ เมตร
ชั้นบน มีห้องโถง ๑ ห้อง ห้องน้ำ ๑ ห้อง
ชั้นล่าง เป็นห้องโถง มีห้องน้ำ ๑ ห้อง
ราคาประมาณ ๓๐๐,๐๐๐ บาท

๔. ห้องน้ำในบริเวณสวนป่า
เพื่ออำนวยความสะดวกแก่พระภิกษุผู้ปฏิบัติธรรมในบริเวณสวนป่า หลวงพ่อจึงได้จัดสร้างห้องน้ำจำนวน ๒๗ ห้อง ราคาประมาณห้องละ ๒๐,๐๐๐ บาท คิดเป็นเงินทั้งหมด ๕๔๐,๐๐๐ บาท

๕. ศาลากองอำนวยการ
เป็นศาลารับรองพระภิกษุที่มาปฏิบัติธรรม อยู่ในเขตสังฆาวาส บริเวณสวนป่าด้านทิศตะวันออกของอาคารปริยัติธรรม ขนาดกว้าง ๔ เมตร ยาว ๑๒ เมตร ราคาประมาณ ๕๐,๐๐๐ บาท

ปี ๒๕๓๓
ได้มีการสร้างสถานที่สำหรับใช้ปฏิบัติธรรม พักอาศัย ให้เป็นที่สัปปายะสำหรับผู้ที่มาปฏิบัติธรรมมากยิ่งขึ้น และสร้างสถานที่พักผ่อนหย่อนใจสำหรับผู้มาเยือนวัด ดังนี้

๑. ศาลาสุธรรมภาวนา
เป็นศาลาอเนกประสงค์ทรงไทย มีมุข ๕ มุข ๒ ชั้น ยาว ๕๐ เมตร กว้าง ๒๐ เมตร ชั้นบนใช้เป็นที่ปฏิบัติศาสนกิจบำเพ็ญกุศล ปฏิบัติธรรม และสามารถใช้เป็นสถานที่ฝึกอบรม จุคนได้ ๑,๐๐๐ คน ชั้นล่างใช้เป็นที่พักของผู้มาปฏิบัติธรรม อยู่ติดริมน้ำเจ้าพระยา ราคาประมาณ ๗,๐๐๐,๐๐๐ บาท

๒. อาคารธรรมนูญ
เป็นอาคาร ๒ ชั้น คอนกรีตเสริมเหล็ก ยาว ๒๐ เมตร กว้าง ๑๓.๕ เมตร ใช้เป็นที่พักผู้มาปฏิบัติธรรม
ชั้นบนเป็นห้องพัก มี ๕ ห้อง
ชั้นล่างเป็นห้องโถงกว้างมีห้องน้ำ ๒ ห้อง จุคนได้ประมาณ ๔๐ คน มีผู้บริจาครายใหญ่ คือ คุณธรรมนูญ คุณพึงใจ วรรณพาณิช นอกนั้นบริจาครายย่อยโดยการนำของ อุบาสิกาฉ่ำชื่น แสงฉาย ราคาประมาณ ๒,๔๐๐,๐๐๐ บาท

๓. อาคารปุริปุณณะ
เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก ๒ ชั้น อยู่ติดกับประตูวัดในเขตปฏิบัติธรรมฝ่ายคฤหัสถ์ ใช้เป็นที่พักของผู้มาปฏิบัติธรรม
ชั้นบน เป็นห้องพัก ๓ ห้อง ห้องน้ำ ๓ ห้อง
ชั้นล่าง เป็นห้องโถงห้องน้ำ ๓ ห้อง จุคนได้ประมาณ ๑๕ คน มีผู้ศรัทธาบริจาคโดยการนำของคุณประสงค์ เหล่าตระกูล ราคาประมาณ ๔๐๐,๐๐๐ บาท

๔. อาคารริมน้ำเจ้าพระยา
เป็นตึกคอนกรีตเสริมเหล็กทรงไทย ๒ ชั้น กว้าง ๓.๕๐ เมตร ยาว ๑๐.๕๐ เมตร ใช้เป็นที่รับรองผู้มาปฏิบัติธรรมเป็นคณะชั้นบนมี ๔ ห้อง ชั้นล่างมี ๒ ห้อง มีห้องน้ำอยู่ใต้ถุนสะพาน๔ ห้อง รามประมาณ ๒๕๐,๐๐๐ บาท

๕. ศาลาท่าน้ำ พ.อ.(พิเศษ) ทองคำ ศรีโยธิน
เป็นศาลาทรงไทย ยาว ๓ วา กว้าง ๗ ศอก อยู่ทางทิศตะวันตกริมแม่น้ำเจ้าพระยา หลังศาลาสุธรรมภาวนา ด้านล่างศาลาเป็นห้องโถง ใช้สำหรับรับรองผู้มาปฏิบัติธรรมเป็นคณะ จุคนได้ประมาณ ๑๒ คน มีห้องน้ำ ๓ ห้องอยู่ใต้สะพาน พ.อ.(พิเศษ) ทองคำ ศรีโยธิน เป็นผู้บริจาคสร้าง ราคา ๑๕๐,๐๐๐ บาท

ปี ๒๕๓๔
ได้สร้างสร้างสถานที่สำหรับอบรมพระอาจารย์สอนบาลีของกรมการศาสนา เพื่อจะได้ไปทำหน้าที่เผยแพร่ธรรมะทั่วประเทศ และสร้างอาคารที่พักรับรองผู้ปฏิบัติเพิ่มเติม พร้อมทั้งซ่อมแซมที่พัก ดังนี้

๑. อาคารปริยัติธรรม
เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก ทรงไทย มีมุขหน้า สูง ๔ ชั้น อยู่ทางทิศตะวันออกของกุฏิเจ้าอาวาส ยาว ๒๐ เมตร กว้าง ๑๓ เมตร มีห้องน้ำ ๓๐ ห้อง ใช้สำหรับอบรมพระคณาจารย์สอนบาลีตั้งแต่เปรียญ ๓-๙ ประโยค
ชั้นล่าง เป็นห้องโถง ใช้สำหรับเป็นที่พักของพระอาคันตุกะ และผู้ปฏิบัติธรรมชาย มีห้องน้ำ ๑๕ ห้อง
ชั้นที่ ๒ มี ๒ ห้อง ห้องน้ำ ๖ ห้อง ใช้สำหรับเป็นที่เรียนของพระอาจารย์สอนบาลี ถ้าว่าจาการอบรมพระ ใช้เป็นที่พักของผู้ปฏิบัติธรรมชายได้
ชั้นที่ ๓ มี ๒ ห้อง ห้องน้ำ ๖ ห้อง ใช้เป็นที่เรียนของพระอาจารย์สอนบาลี ถ้าว่าจากการอบรมใช้เป็นที่พักของผู้ปฏิบัติธรรมชายได้ จุห้องละประมาณ ๕๐ คน
ชั้นที่ ๔ เป็นที่พักของพระอาจารย์สอนบาลีที่มาอบรม มีห้องน้ำ ๓ ห้อง

๒. กุฏิเจ้าอาวาส
เนื่องจากกุฏิเดิมชำรุดปลวกกินเกือบหมดทั้งหลัง ได้มีผู้ศรัทธาสร้างใหม่ เป็นอาคาร ๒ ชั้นแบบประยุกต์ ยาว ๑๒ เมตร กว้าง ๙ เมตร หลังคาทรงหน้าจั่วผู้มีจิตศรัทธาบริจาคคือ คุณสมชาย คุณปาริษา รุ่งโรจน์ธนกุล และญาติมิตร หมู่บ้านอยู่เจริญ กรุงเทพมหานคร สิ้นค่าใช้จ่าย ๒,๔๐๐,๐๐๐ บาท

๓. อาคารสุขจิตต์
เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก สูง ๓ ชั้น กว้าง ๖ เมตร ยาว ๖ เมตร เป็นห้องโถงหมดทุกชั้น มีห้องน้ำ ๕ ห้องอยู่ในอาคาร ผู้มีจิตศรัทธาสร้างถวาย คือ คุณเจริญ ดร.สุจิตรา จงสถิตย์วัฒนาอุทิศให้ คุณสุขจิตต์ จงสถิตย์วัฒนา โดยการนำของ คุณสมประสงค์ เหล่าตระกูล สิ้นค่าก่อสร้างประมาณ ๕๐๐,๐๐๐ บาท

ปี ๒๕๓๕
ได้พัฒนาการประปาให้เป็นสัปปายะสำหรับผู้มาพักอาศัย และสร้างที่รับรองวิทยากร และที่พักรอรถเพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้มาปฏิบัติธรรม ดังนี้

๑. อาคารดารามาศ
เป็นอาคารชั้นเดียว คอนกรีตเสริมเหล็ก มีห้องน้ำอยู่ในอาคาร กว้าง ๔ เมตร ยาว ๕ เมตร ใช้เป็นที่พักวิทยากรให้การอบรมคุณนายสุวรรณา ดารามาศ มีจิตศรัทธาสร้างถวาย โดยการนำของ คุณประสงค์ เหล่าตระกูล สิ้นค่าก่อสร้างประมาณ ๑๓๐,๐๐๐ บาท

๒. ศาลาริมทางหน้าวัด
เป็นที่พักสำหรับผู้สัญจรไปมาใช้หลบแดดฝน หรือพักรอรถประจำทาง ผู้มีศรัทธาสร้างถวายโดยการนำของ คุณอุ่นเรือน นันทพงษ์ สิ้นค่าก่อสร้างประมาณ ๓๐๐,๐๐๐ บาท

๓. ประปาบาดาล
ขุดเจาะบ่อบาดาลสร้างถึงเก็บน้ำเพิ่มเติม ในบริเวณสถานที่ปฏิบัติธรรม เพื่อให้มีน้ำพอเพียงต่อการใช้สอย โดยสร้างเป็นโครงเหล็ก มีถึงเก็บน้ำพีวีซีจำนวน ๔ ใบ สามารถสูบน้ำขึ้นไปสำรองเก็บไว้ได้ ๔,๐๐๐ ลิตร ผู้บริจาคถังทั้ง ๔ ใบ คือ คุณรุ่งศิริ เศรษฐสมบัติและคุณสมบุญ บางยี่ขัน นอกนั้นบริจาครายย่อยโดยการนำของอุบาสิกาฉ่ำชื่น แสงฉาย สิ้นค่าก่อสร้างประมาณ ๑๘๐,๐๐๐ บาท

ปี ๒๕๓๖
ได้สร้างอาคารและห้องน้ำสำหรับรับรองผู้ปฏิบัติธรรมอีกมากมาย เพื่อจะได้เพียงพอต้อนรับผู้ปฏิบัติธรรมซึ่งมีจำนวนเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก

๑. ศาลาพระราชสุทธิญาณมงคล
เป็นศาลาอเนกประสงค์ใช้รับรองปฏิสันถารพระอาคันตุกะและแขกผู้มาเยือน เป็นศาลาชั้นเดียว ทรงไทย มีระเบียง กว้าง ๘.๕๐ เมตร ยาว ๑๖ เมตร อยู่หน้าอาคารปริยัติธรรม และหน้าวิหารหลวงปู่โต พรหมรังสี ราคาประมาณ ๓๐๐,๐๐๐ บาท (สามแสนบาท)

๒. อาคารสามัคคีธรรม
เป็นตึกคอนกรีตเสริมเหล็กชั้นเดียว กว้าง ๘.๕๐ เมตร ยาว ๑๖ เมตร อยู่หน้าอาคารปริยัติธรรม ใช้เป็นที่พักพระอาคันตุกะและผู้ปฏิบัติธรรมชาย ราคาประมาณ ๔๐๐,๐๐๐บาท (สี่แสนบาท)

๓. อาคารราชสุทธิ
เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก ทรงไทย มีระเบียงกว้าง ๑๐ เมตร ยาว ๓๐ เมตร ชั้นล่าง ๑๐ ห้อง ชั้นบน ๑๐ ห้อง มีห้องน้ำอยู่ในแต่ละห้อง อยู่ในอาคาร ใช้เป็นที่รับรองสำหรับผู้ปฏิบัติธรรมอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของกฏิเจ้าอาวาส ในเขตสำนักปฏิบัติฝ่ายคฤหัสถ์ ราคาประมาณ ๒,๕๐๐,๐๐๐ บาท (สองล้านห้าแสนบาท)

๔. อาคารญาณมงคล
ลักษณะและขนาดเหมือนอาคารราชสุทธิ อยู่ทางทิศใต้ต่อจากอาคารราชสุทธิ กำลังอยู่ระหว่างดำเนินการก่อสร้าง ราคาประมาณ ๒,๕๐๐,๐๐๐ บาท (สองล้านห้าแสนบาท)

๕. อาคารทรงไทยญาณมงคล
เป็นเรือนไทย ใต้ถุนสูงจำนวน ๔ หลัง ตัวเรือนกว้าง ๒.๕๐ เมตร ยาว ๓.๕๐ เมตร ระเบียงยื่นออกไปกว้าง ๒ เมตร อยู่ทางทิศใต้ของกุฏิเจ้าอาวาสติดกับอาคารธรรมนูญและอาคารเนกขัมม์ ส่วนประกอบส่วนมากเป็นไม้สัก มีเสากับตงเท่านั้นที่เป็นไม้แดง หลังคามุงด้วยกระเบื้องตราช้างลอนเล็ก มีห้องน้ำอยู่ข้างล่างเชิงบันได ใช้เป็นที่รับรองแขกผู้มาปฏิบัติธรรม
ทั้ง ๔ หลังนี้มีผู้มีจิตศรัทธาบริจาคโดยการนำของ อุบาสิกาฉ่ำชื่น แสงฉาย ราคาประมาณหลังละ ๔๕๐,๐๐๐ บาท (สี่แสนห้าหมื่นบาท)

๖. อาคารสุธรรมจิตทวีบุญ
เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก ๒ ชั้น กว้าง ๖ เมตร ยาว ๖ เมตร แต่ละชั้นเป็นห้องโถง มีห้องน้ำชั้นละ ๑ ห้อง อยู่ในอาคารอยู่ติดกับ อาคารสุขจิตต์ ใช้เป็นที่รับรองแขกผู้มาพักแรม หรือปฏิบัติธรรม มีผู้ศรัทธาบริจาคโดยการนำของคุณประสงค์ เหล่าตระกูล คือ
พ.อ.(พิเศษ) อุดม – คุณนายสุรางค์ ทวีวัฒน์
พล.ท.วรรณจนะ – คุณนายสุรัชช์ สุวรรณทัต
คุณลมุด ธรรมบวร
คุณนุชฎา จิตต์เสงี่ยม
ร.ต.ต.รชชงค์ – คุณนายวไลพร บุนนาค
คุณสปัน ผืนจิต
ราคาประมาณ ๔๕๐,๐๐๐ บาท (สี่แสนห้าหมื่นบาท)

๗. อาคารรับรองพระเถระชั้นผู้ใหญ่
ปรับปรุงอาคารชั้นเดียว เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก ๒ ชั้น กว้าง ๗.๒๐ เมตร ยาว ๑๕.๕๐ เมตร
ชั้นบน มีห้องโถง ห้องนอน ๒ ห้อง ห้องน้ำ ๒ ห้อง
ชั้นล่าง มีห้องด้านหลัง ห้องโถง ๑ ห้อง และห้องน้ำ ๒ ห้อง
ใช้สำหรับรับรองพระราชาคณะ และพระเถระชั้นผู้ใหญ่ที่มาเยือน พลตรีชาญบูรณ์ – คุณนายรุจา เพ็ญตระกูล มีศรัทธาสร้างถวาย ราคาประมาณ ๒,๐๐๐,๐๐๐ บาท (สองล้านบาท)

๘. อาคารอเนกประสงค์
ปรับปรุงอาคารพักรับรองรื่นฤดีจากชั้นเดียวเป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก ๒ ชั้น กว้าง ๖.๒๐ เมตร ยาว ๑๕.๕๐ เมตร อยู่ทางทิศตะวันตกของกุฏิเจ้าอาวาส ชั้นบนเป็นห้องพัก ชั้นล่างเป็นห้องโถง ใช้สำหรับรับรองแขกที่มากราบนมัสการหลวงพ่อ พลตรีชาญบูรณ์ – คุณนายรุจา เพ็ญตระกูล มีศรัทธาสร้างถวาย ราคาประมาณ ๒,๐๐๐,๐๐๐ บาท (สองล้านบาท)

๙. ห้องน้ำ
ปี ๒๕๓๓ – ๒๕๓๖ ได้สร้างห้องน้ำรับรองแขกผู้มาปฏิบัติธรรม โดยสร้างต่อจาก ศาลาสุธรรมภาวนา ด้านทิศใต้จำนวน ๓๓ ห้อง ใช้งบประมาณจากศาลาสุธรรมภาวนา

ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงห้องน้ำหน้า ศาลาพระราชสุทธิญาณมงคล จำนวน๔๓ ห้อง ชั้นบนจะสร้างเป็นกุฏิทรงไทย ๕ ห้อง ใช้สำหรับเป็นที่พักของพระภิกษุสามเณรในเขตสังฆาวาส ห้องน้ำ ๔๓ ห้อง ราคาประมาณ ๘๖๐,๐๐๐ บาท (แปดแสนหกหมื่นบาท) กุฏิทรงไทยราคาประมาณ ๑,๐๐๐,๐๐๐ บาท (หนึ่งล้านบาท)

 

คณะผู้จัดทำ http://www.jarun.org/contact-webmaster.html
หนังสืออิเล็กทรอนิกส์เล่มนี้จัดทำเพื่อเผยแพร่เป็นธรรมทานเพื่ออุทิศส่วนกุศล ให้แก่ บรรพบุรุษ บิดา มารดา ญาติสนิท มิตรสหาย ผู้มีพระคุณ ครูอุปัชฌาย์ อาจารย์ เจ้ากรรมนายเวรทุกภพ ทุกชาติ

กลับหน้าหลัก ›